ไซส์ขนาดบ้านน็อคดาวน์นั้นสำคัญไฉน แน่นอนว่ามันมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและยังสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่อยู่อาศัยที่เราจะต้องนำมาพิจารณาในการที่จะสร้างบ้านน็อคดาวน์สักหลัง ถ้าขนาดเล็กไปอยู่ได้มั้ย ขอทะเบียนบ้านได้หรือเปล่า? หรือมากเกินความจำเป็นไปค่าใช้จ่ายสูงจำเป็นต้องใหญ่ขนาดนั้นมั้ย? วันนี้เราจะมาคุยเรื่องความคุ้มค่าเงินของเราในการเลือกซื้อบ้านน็อคดาวน์สักหลังกันครับ โดยจะมีบ้านน็อคดาวน์ 2×3 3×3 3×4 3×5 3×6 4×6 มาเป็นโมเดลไอเดียเพราะลูกค้าบางส่วนที่สั่งซื้อบ้านกับเราจะมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับไซส์นี้กันเข้ามาครับซึ่งเป็นไซส์เริ่มต้นขนาดเล็กเหมาะกับครอบครัวเล็กหรือเอาไว้ใช้แค่เป็นห้องเก็บของ, ออฟฟิศ, บ้านพักอาศัย และยังรวมไปถึงคาเฟ่ & รีสอร์ท

ขนาดห้องนอนในบ้านน็อคดาวน์

โดยหลักการแล้วเราจะยึดหลักของห้องนอนตามกฏหมายที่มีการบัญญัติไว้ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ห้องนอนขนาดมาตราฐานจะต้องมีด้านแคบสุดในห้องไม่น้อยกว่า 2.5 ม. พื้นที่ภายในห้องนอนไม้น้อยกว่า 8 ตรม. และควรมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ห้องทั้งหมด ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ห้องนอนที่เล็กที่สุดตามกฎหมายคือห้องนอนขนาด 2.5×3.2 = 8 ตรม. นั่นเองครับ และถ้าเราทำห้องให้ใหญ่ขึ้น เราก็สามารถที่จะวางเฟอร์นิเจอร์ต่างๆและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างได้โดยไม่อึดอัด

ห้องนอน บ้านน็อคดาวน์

ขนาดห้องน้ำในบ้านน็อคดาวน์

ถ้าขนาดห้องน้ำของบ้านน็อคดาวน์ที่มีส่วนห้องอาบน้ำและห้องส้วมในห้องเดียวกันจะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 1.5 ตรม. แต่ถ้ามีการแยกห้องส้วมและห้องน้ำออกจากกันเป็น 2 ห้อง จะต้องมีความก้างอย่างน้อย 0.9 เมตร และมีขนาดพื้นที่แต่ละห้องไม่น้อยกว่า 0.9 ตรม และต้องมีช่องระบายอากาศด้วย

ห้องน้ำ บ้านน็อคดาวน์

ขนาดห้องโถงในบ้านน็อคดาวน์

เรื่องห้องโถงยังไม่มีกฎหมายบังคับ เราสามารถที่จะกำหนดเองได้เลย โดยจะมีคำแนะนำดังนี้คือ ให้พยายามเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่เราต้องการมีไว้ในห้องโถง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะรับแขก ตู้โชว์ ตู้ลิ้นชัก เก้าอี้ โต๊ะวางทีวี และอื่นๆ ว่ามีขนาดเท่าไหร่และลองวางลงในแปลนห้องโถงดูครับ ว่ามีทางเดินเหมาะสมสำหรับการสัญจรภายในห้องโถงหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีเฟอร์นิเจอร์มากมีแค่โต๊ะหรือโซฟานั่งพักผ่อนห้องก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากนักก็ได้ อีกไอเดียคือ ถ้าเป็นบ้านที่เน้นนั่งพื้นแบบสมัยก่อน ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีเฟอร์นิเจอร์อะไรเลยก็ได้ ทำให้ได้ห้องโล่งที่เหมาะสมไม่อึดอัดได้เช่นกันครับ โดยปกติทางเดินจะเว้นไว้ประมาณ 0.8-0.9 ม. ลองพิจารณาขนาดเฟอร์นิเจอร์ที่จะวางไว้ในห้องโถงดู แค่นี้ก็ได้ห้องโถงที่ทั้งถูกใจและประหยัดเงินแล้วครับ

ห้องโถง บ้านน็อคดาวน์

ขนาดห้องครัวบ้านน็อคดาวน์

ส่วนของขนาดห้องครัวนั้นก็ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมเช่นเดียวกับห้องโถง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้อยู่อาศัยว่าต้องการเฟอร์จิเจอร์อะไรบ้างในห้องครัว ชิ้นที่เป็นพื้นฐานเลยก็จะเป็นซิ๊งค์ล้างจาน และโต๊ะ/เคาน์เตอร์สำหรับเตรียมอาหารเป็นอย่างน้อย ซึ่งการออกแบบห้องครัวจะเป็นอีกศาสตร์นึงเลยโดยจะมีไอเดียคร่าวๆประมาณนี้คือ การออกแบบครัวแบบติดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่ง(แบบรูปตัวไอ), การออกแบบครัวแบบติดผนัง 2 ฝั่งตรงข้ามกัน, การออกแบบครัวแบบรูปตัวแอล, การออกแบบครัวแบบรูปตัวยู, การออกแบบครัวแบบมีโต๊ะ/ตู้ตรงกลาง(Island) เป็นต้น และยังต้องคำนึงถึงเรื่องการระบายอากาศมนห้องครัวด้วยไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งหน้าต่างและพัดลมระบายอากาศ(ฮูดดูดควัน) สำหรับระบายอากาศในห้องครัว และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการสัญจรภายในห้องครัว อย่างน้อยควรมีพื้นที่ว่างระหว่างเฟอร์นิเจอร์ในครัวต่างๆ สำหรับสัญจรกว้างประมาณ 1 ม. ขึ้นไป

ห้องครัว บ้านน็อคดาวน์

ขนาดระเบียงเฉลียงบ้านน็อคดาวน์

ชานบ้าน หรือระเบียงบ้าน หรือเฉลียงบ้าน ทั้งหมดนี้จะเป็นคำที่มีความหมายใกล้ ๆ กัน แล้วถ้าเป็นลักษณะที่เราเห็นในบ้านน็อคดาวน์ล่ะ ตรงทางเข้าบ้าน ที่มีรั้วกันตก เราจะเรียกว่าอะไรกันแน่? คำตอบก็คือ เราจะเรียกโดยรวมว่า “ระเบียงเฉลียง” ก็แล้วกันครับ คือจะเป็นลักษณะที่มีหลังคาคลุมกันฝนให้พื้นที่นั้นๆ และก็เป็นพื้นที่ติดต่อกันกับทางเข้าประตูหลักของบ้านหรือบางหลังก็วางพื้นที่นี้ไว้ทางหน้าและด้านข้างไปพร้อมๆกันเลย

พื้นที่ระเบียงเฉลียงนี้ ส่วนมากจะไว้เป็นพื้นที่สำหรับรับแขกนอกบ้าน หรือเอาไว้นั่งพัก นั่งสนทนาเฮฮาปาร์ตี้กันนอกบ้านโดยที่ยังมีหลังคาคลุมกันแดดกันฝน ทำให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางของบ้านที่ใช้กันบ่อยๆเลย ที่นี้เจ้าของบ้านก็ต้องออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ว่าจะเอาไว้ใช้ทำอะไรบ้าง? จะให้มีม้านั่งบนระเบียงเฉลียงนี้มั้ย? หรือจะมีแค่รั้วกันตกก็ได้ ก็แล้วแต่ความต้องการในการใช้พื้นที่เลยครับ โดยไม่จำเป็นต้องมีก็ได้เป็นแค่ออปชั่นหนึ่งเท่านั้น

ระเบียง เฉลียง บ้านน็อคดาวน์

บ้านน็อคดาวน์ 2×3 / บ้านน็อคดาวน์ 3×2

บ้านน็อคดาวน์หรืออาคารน็อคดาวน์ไซส์นี้ ไม่ค่อยเหมาะกับการนำไปใช้พักอาศัยเนื่องจากมีพื้นที่แค่ 6 ตรม. เอง เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นห้องเก็บของ ห้องทำงานขนาดเล็ก หรือห้องสำหรับสัตว์เลี้ยงแสนรักเสียมากกว่าครับ

บ้านน็อคดาวน์ 3×3

เป็นบ้านน็อคดาวน์ที่มีขนาด 9 ตรม. ซึ่งสามารถที่จะใช้สำหรับเป็นห้องนอนได้ล่ะ ถ้าจะเพิ่มห้องน้ำเข้าไปก็อาจจะทำให้ห้องดูเล็กไปนิดนึง เหมาะกับการใช้เป็นออฟฟิศสำหรับทำงาน ใช้ทำเป็นร้านกาแฟ/คาเฟ่ หรือห้องนั่งเล่นห้องประชุมนอกจากอาคารหลักอีกทีนึง

บ้านน็อคดาวน์ขนาดเล็ก

บ้านน็อคดาวน์ 3×4 3×5 3×6

บ้านน็อคดาวน์ขนาด 12 ตรม., 15 ตรม., และ 18 ตรม. ก็จะเริ่มเหมาะสำหรับอยู่อาศัยกันแล้วครับ โดยสามารถที่จะออกแบบให้มีห้องน้ำขนาดเล็กตามกฎหมายได้แล้ว แต่ก็จะเป็นแบบห้องน้ำในตัว อย่างเช่น 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ เหมาะสำหรับใช้เป็นบ้านหลังเล็ก บ้านในสวน บังกะโล หรือนำไปใช้ในธุรกิจอย่างเช่น บ้านพักในรีสอร์ท นำไปทำเป็นคาเฟ่ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือออฟฟิศได้สบายๆแล้วครับ

บ้านน็อคดาวน์ขนาดกลาง

บ้านน็อคดาวน์ 4×6 ขึ้นไป

บ้านน็อคดาวน์ขนาดตั้งแต่ 24 ตรม.ขึ้นไป จะสามารถออกแบบให้มีห้องนอนได้มากกว่า 1 ห้องนอน และออกแบบให้มีห้องโถงห้องครัว เพิ่มขนาดห้องน้ำได้มากขึ้น (แต่ต้องเลือกขนาดแต่ละห้องให้เหมาะสมกับพื้นที่ และตามที่กฎหมายกำหนดไว้) ซึ่งจะเป็นบ้านที่มีความครบถ้วนมีฟังก์ชั่นการใช้งานครบสมบูรณ์

บ้านน็อคดาวน์หลังใหญ่

สรุปการเลือกขนาดบ้านน็อคดาวน์ให้เหมาะสมกับครอบครัว

ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำเรื่องขนาดพื้นที่ภายในห้องต่างๆในบ้านว่ามีกฎหมายควบคุมอย่างไรบ้าง และเราจะต้องการพื้นที่ขนาดไหนที่จะทำให้เราใช้ชีวิตและพักผ่อนได้อย่างมีความสุขกับครอบครัวของเรา และสุดท้ายสำหรับท่านที่คิดยากจะสร้างบ้านน็อคดาวน์สักหลัง สามารถติดต่อผ่านทางไลน์มาสอบถามขนาดบ้าน ไสต์บ้านที่ต้องการได้เลยครับ ทางบริษัทพาร์เซอร์วิสฯมีวิศกรและสถาปนิกคอยให้คำปรึกษาและแนะนำสำหรับการออกแบบบ้านให้ตรงใจคุณได้ครับ

แบบแปลนบ้านน็อคดาวน์ 2D

ตัวอย่างแบบบ้านน็อคดาน์หลายๆขนาด

บ้านน็อคดาวน์หลังเล็ก PH-B1

บ้านน็อคดาวน์หลังเล็กสไตล์โมเดิร์น รุ่น PH-B1

บ้านน็อคดาวน์ทรงนอร์ดิก M1

พรีวิวบ้านน็อคดาวน์ทรงนอร์ดิกมีชั้นลอย ขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ติดตั้งที่ จ.สุพรรณบุรี

บ้านน็อคดาวน์ทรงเอเฟรม

สำรวจบ้านน็อคดาวน์ทรงเอ (ขอนแก่น)